วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

ชื่อ น..วรรณธนา   ศักดิ์วิทย์    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ห้อง 937 เลขที่ 24 
เสนอ อาจารย์ประพิศ     ฝาคำ     วิชา ส 32102 เศรษฐศาสตร์                                           ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556    โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา


หกเหลี่ยมเศรษฐกิจคืออะไร ?
               หกเหลี่ยมเศรษฐกิจคือโครง การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregional Economic Cooperation: GMS-EC) ซึ่งประกอบด้วยประเทศกัมพูชา จีน (มณฑลยูนาน) พม่า ลาว เวียดนาม และไทย ครอบคลุมเนื้อที่ 2.34 ล้านตารางกิโลเมตร  มีประชากรรวม 257.5 ล้านคน  GMS เป็นหนึ่งใน   อนุมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดแหล่งหนึ่งในโลก 


ประเทศสมาชิกหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

ที่ตั้งหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

ความเป็นมาของหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ (ปี ค.ศ. ๑๙๙๒) ซึ่งมีการพัฒนามาจากสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจแต่ได้ขยายรวมไปถึงกัมพูชาและเวียดนาม  ซึ่งมีทั้งความร่วมมือในลักษณะของการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและอนุภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองภายใต้สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการเปิดเสรีทางการค้า  และการลงทุน  รวมทั้งการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรุนแรง โดยหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นโครงการที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก 

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

                1.เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมทางเกษตร การค้า การลงทุน เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน
                2. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและการศึกษา
                3.เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก

โดยมีสาขาความร่วมมือ 9 สาขา ได้แก่

1.คมนาคมขนส่ง                                                2.พลังงาน
3.สื่อสารโทรคมนาคม                                      4.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5.การท่องเที่ยว                                                    6.สิ่งแวดล้อมและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
7.การอำนวยความสะดวกทางการค้า              8.การลงทุน
9.การเกษตร

แผนงานที่โดดเด่นของหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

1.             แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) โดยการสร้างทางเชื่อมระหว่างประเทศเพื่อความสะดวกต่อการเดินทางและขนส่งแบ่งเป็น
1.1  เส้นทางสาย แม่สายเชียงตุง-เชียงรุ่ง-คุนหมิง (เส้นทางสาย R3A)
1.2  เส้นทางสาย เชียงของหลวงน้ำทา-เชียงรุ่ง-คุนหมิง ( เส้นทางสาย R3B)
1.3  เส้นทางสาย ห้วยโก๋นปากแบ่ง
เส้นทาง R3A
เส้นทาง R3B










2)    แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก  (East-West Economic Corridor)
        มีการสร้างเส้นทางคุนมั่ง-กงลู่ (เส้นทาง R3E)
3)     แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)
3.1เส้นทางตราด-เกาะกง-สแรแอมปึลเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลไทย-กัมพูชา-เวียดนาม (R10)  151.5 กม. และให้เปล่า 288 ล้านบาท เพื่อการก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่ 4 แห่ง
 3.2 เส้นทางช่องสะงำ-อันลองเวงเสียมราฐการปรับปรุงถนนระยะทาง 167 กม. ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่าง
ภาคอีสานใต้ของไทยกับเมืองเสียมราฐ โดยจะเริ่มเจรจาเงื่อนไขสัญญาเงินกู้กลางปี 2547


4)     แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone)
ประเทศไทยโดยบริษัท ทศท คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการจัดสร้างโครงข่ายระบบเคเบิลใยแก้วตามโครงการ Telecommunication Backbone Project ในส่วนของไทยครบทุกจุดที่  เกี่ยวข้องแล้ว และยังได้เปิดให้บริการในเส้นทางระหว่างอรัญประเทศ (ไทย)ปอยเปต (กัมพูชา) และระหว่างหนองคาย (ไทย)เวียงจันทน์ (สปป.ลาว) แล้ว ขณะนี้รอความพร้อมในการเชื่อมโยงกับจีน พม่า และจุดเชื่อมโยงอื่นๆ ของลาว
5)     แผนงานซื้อ-ขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading Arrangements)ประเทศ GMS ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการซื้อขายไฟฟ้าและการสร้างเครือข่ายสายส่งระหว่างรัฐบาล 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง  (Inter-Governmental Agreement on Regional Power Trade) เมื่อ พ.ย. 2545 โดยความตกลงนี้มีจุดประสงค์ให้ประเทศสมาชิกร่วมมือและวางแผนพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าที่ประหยัด และมีความมั่นคง รวมไปถึงกลไกในการดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าในอนุภูมิภาค
6)     แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and   Investment)ไทย ลาว พม่า จีน ได้ลงนามร่วมกันในความตกลงว่าด้วยการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอำนวยความสะดวกการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน และจีนได้ให้การสนับสนุน การปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ 
7)     แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector Participation and Competitiveness)
8)     แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills  Competencies) ไทยส่งเสริมให้มีการดำเนินตามแผนงาน Phnom Penh Plan ซึ่งเป็นแผนงานพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเฉพาะการดำเนินงานของ AIT และ สถาบันลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Institute) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2537 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนิวซีแลนด์กับรัฐบาลไทย
9)     กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework)
10)   แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource  Management)
11)   แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)
โครงการจัดทำแผนการตลาดท่องเที่ยว Six Countries One Destination โดยมี Agency for Coordinating Mekong Tourism Activities (AMTA) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นศูนย์ประสานงานหลักด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างประเทศในรูปแบบของ package tourโดยจะเน้นตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ 3 แนวหลัก ตลอดจนการศึกษา GMS Visa เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจากนอกอนุภูมิภาค

จุดแข็งของหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

                กลไกการทำงานของหกเหลี่ยมเศรษฐกิจคือมีการจัดประชุมของแต่ละสาขาเพื่อแสดงความร่วมมือและความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นระยะ และมีการประชุมระดับผู้นำอย่างต่อเนื่อง


การประชุมผู้นำ

จุดอ่อนของหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

ประชากรยังมีการศึกษาที่อยู่ในระดับต่ำ ขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพและความชำนาญในอาชีพนั้นๆ  ข้อจำกัดด้านระดับการพัฒนาและการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิต และปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆไม่เอื้อประโยชน์ ต่อความสะดวกทางการค้าต่างๆ ภัยคุกคาม มาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว การขาดเสถียรภาพของราคาและตลาดส่งออกสินค้าเกษตรจากมาตรการปกป้องการนำเข้าของประเทศพัฒนาแล้วที่ล้มเหลวฃ

ประโยชน์ของไทยที่ได้รับจากหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

1.ช่วยขยายเศรษฐกิจการค้า การลงทุนในระหว่างประเทศสมาชิก
2.เป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3.เป็นโอกาสที่จะขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
4.เป็นโอกาสขยายการลงทุน โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อย่างไรก็ดีประเทศไทยอาจจะต้องให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อให้ประเทศเหล่านี้สามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบการค้าโลกได้
    5.โดยที่ประเทศสมาชิก GMS เป็นสมาชิกอาเซียน (ยกเว้นจีน) ซึ่งมีพันธกรณีที่จะต้องลดเลิกมาตรการต่างๆ ทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ (NBT) ตามกำหนดเวลา ดังนั้น การอำนวยความสะดวกทางการค้าภายใต้ GMS เป็นความร่วมมือที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศเหล่านี้ลดเลิกมาตรการ NTB ได้เร็วขึ้น



อ้างอิง


1 ความคิดเห็น: